สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 3-9 ส.ค. 61



ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(2) ด้านการตลาด มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,999 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,952 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,507 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,440 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.90
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 35,010 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,583 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.61
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,810 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,750 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,122 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,030 บาท/ตัน) ราคา
ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 35 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 399 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,168 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 12 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 390 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,871 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนแต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 12 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 401 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,234 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,057 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 177 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.0033
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          ฟิลิปปินส์
สมาคมผู้ค้าข้าวแห่งฟิลิปปินส์ (Grecon) สนับสนุนการยื่นข้อเสนอ เพื่อขอให้ NFA นำเข้าข้าวสารจากต่างประเทศเพิ่มในปริมาณ 500,000 – 800,000 ตัน โดยส่งมอบภายใน 5-6 เดือน เพื่อชะลอปัญหาเงินเฟ้อและลดระดับราคาข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนในประเทศ
ทั้งนี้ นายกสมาคมฯ มีความเห็นว่าปริมาณการนำเข้าข้าวของ NFA ช่วงก่อนหน้าไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ จึงสนับสนุนให้มีการนำเข้าเพิ่ม และคาดหวังว่าข้าวจะถูกส่งมอบในเร็วๆ นี้ เพื่อลดระดับความตึงเตรียดของราคาข้าวสารในท้องตลาด โดยขณะนี้เป็นช่วงที่ข้าวออกสู่ตลาดน้อย ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาข้าวสารในประเทศปรับตัวสูงขึ้นด้วย ซึ่งปกติแล้วราคาข้าวสารจะเป็นสองเท่าของราคาข้าวเปลือกสด ดังนั้น หากราคาข้าวเปลือกในประเทศปรับตัวสูงขึ้นผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบ จึงเห็นควรให้ NFA นำเข้าข้าวเพิ่ม เพื่อลดระดับราคาข้าวสารภายในประเทศ
         
ที่มา : BusinessMirror
 
          อินเดีย
ราคาข้าวอินเดียยังคงที่ จากที่มีข้อกังวลเรื่องปริมาณผลผลิตจะออกสู่ตลาดน้อยลงจากปริมาณน้ำฝนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ โดยราคาข้าวนึ่งของอินเดียอยู่ที่ตันละ 392-396 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับสัปดาห์ก่อน หลังจากมีการปรับตัวสูงขึ้นโดยปริมาณการส่งออกข้าวของประเทศระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน สูงขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศทางแถบแอฟริกามีความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น
          ผู้ส่งออกรายหนึ่ง กล่าวว่า สถานการณ์การเพาะปลูกข้าวในประเทศยังคงเป็นปัญหา เนื่องจากปริมาณฝนที่
ตกลงมาน้อยกว่าปกติ และหากฝนยังคงไม่ตกภายในสัปดาห์หน้า ปริมาณผลผลิตข้าวจะได้รับความเสียหาย
โดยในฤดูกาลนี้ ประเทศเพาะปลูกข้าวแล้ว 26.27 ล้านเฮกตาร์ ลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันพื้นที่ปลูกข้าวในประเทศเวียดนาม และไทย ได้รับผลกระทบจากฝนที่ตกหนักและน้ำท่วม ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตและราคาข้าวในอนาคตได้
         
ทีมา : Reuters Bengaluru
 
          ปากีสถาน
          กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่าในปีการตลาด 2561/62 (พฤศจิกายน-ตุลาคม) ปากีสถาน
จะมีผลผลิตข้าวสารประมาณ 7.4 ล้านตัน ลดลงจากจำนวนประมาณ 7.5 ล้านตัน ในปี 2560/61 เนื่องจากปากีสถานประสบปัญหาด้านระบบชลประทานในช่วงเริ่มต้นฤดูเพาะปลูก kharif
          อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยา (Pakistan’s Metrological Department) ได้พยากรณ์ว่า ในปีนี้ปากีสถาน
จะเผชิญกับฤดูมรสุมในระดับปกติซึ่งคาดหมายว่าจะส่งผลดีต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวข้าว
          ทางด้านการส่งออกนั้น ในปีการตลาด 2560/61 จนถึงปัจจุบัน ปากีสถานส่งออกข้าวได้แล้วประมาณ 3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ส่งออกไปประมาณ 2.4 ล้านตัน โดยคาดว่าในปีการตลาด 2560/61 นี้จะส่งออกได้ประมาณ 4.3 ล้านตัน
          สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมา ค่าเงินรูปีของปากีสถานปรับตัวแข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 3 อยู่ที่ 124 ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากมีรายงานว่ารัฐบาลจีนได้ให้เงินกู้แก่ปากีสถานประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อช่วยให้ปากีสถานมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งข้อมูลของ Bloomberg ระบุว่า การขาดแคลนเงินทุนสำรองของปากีสถานเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551
          ทั้งนี้ ธนาคารกลางปากีสถานได้มีการลดค่าเงินแล้ว 4 ครั้ง นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2560 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการแก้ไขปัญหาความสมดุลของทางบัญชีในปัจจุบัน โดยตั้งแต่เดือนธันวาคม 2560 ปากีสถานลดค่าเงินรูปีในเดือนธันวาคม 2560 ประมาณร้อยละ 10 ในเดือนมีนาคม 2561 ลดลงอีกร้อยละ 10 เดือนมิถุนายนลดลงอีกร้อยละ 4 และในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ปรับลดลงอีกประมาณร้อยละ 5
         
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          อิตาลี
          ข้าวเป็นหนึ่งในสินค้าหลักของภาคเกษตรกรรมของอิตาลี เผชิญกับความเสี่ยงด้านการผลิตลดลง ซึ่งเป็น ผลกระทบจากการยกเว้นภาษีการนำเข้าจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างกัมพูชาและเมียนมาร์ในสหภาพยุโรป โดยตัวเลขการนำเข้าข้าวจากกัมพูชาและจากเมียนมาร์ในปี 2560 เพิ่มขึ้นสามเท่า มาอยู่ที่ 22,500 ตัน หรือเท่ากับประมาณครึ่งหนึ่งของข้าวที่อิตาลีนำเข้าจากต่างประเทศ
          ปัจจุบัน 1 ใน 4 ของข้าวที่จำหน่ายในอิตาลีมาจากการผลิตในเอเชีย โดยการนำเข้าข้าวที่มีการผลิตในเอเชีย
เพิ่มขึ้นมากนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 (ในปี2560 การนำเข้าข้าวจากเอเชียมีปริมาณ 33,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 48 จากปีก่อนหน้า) จากการนำเข้าจากประเทศด้อยพัฒนา (Pma) อย่างเสรีโดยไม่จำกัดจำนวนและได้รับการยกเว้นภาษี
โดยกัมพูชาได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับการส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 ขณะที่เมียนมาร์ได้รับการยกเว้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556 (มีผลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2555) ขณะที่เวียดนามได้รับผลประโยชน์จาก ข้อตกลงการค้าเสรีที่ลงนามในเดือนสิงหาคม 2558 ซึ่งกำหนดการยกเว้นภาษีการนำเข้าเช่นกัน
          สาหรับประเด็นดังกล่าว สมาพันธ์เกษตรกรแห่งชาติ (Coldiretti) แสดงความเห็นว่าควรมีการเร่งดำเนินการป้องกันเกี่ยวกับการนำเข้าข้าวที่มีแหล่งที่จากกัมพูชาและเมียนมาร์จากฝ่ายสหภาพยุโรป โดยเรียกร้องให้ยกเลิกโครงการ Everything But Arms (EBA) หรือ โครงการที่สหภาพยุโรปให้สิทธิพิเศษด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้า และยกเลิกการกำหนดโควตานาเข้าให้แก่สินค้านำเข้าที่มีแหล่งกำเนิดจากกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งกำลังทำให้เกิดการแข่งขันอย่างไม่ยุติธรรมกับการผลิตข้าวในประเทศอิตาลีและในสหภาพยุโรป
          เป้าหมายของ Coldiretti คือ ความเป็นไปได้ในการยกเลิกส่งออกข้าวจากประเทศเหล่านี้มายังสหภาพยุโรป
โดยไม่จำกัดจำนวนและได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตด้านราคาที่ลดลงอย่างมาก (ข้าวพันธุ์Arborio ลดลง 58% พันธุ์ Carnaroli ลดลงร้อยละ 57 พันธุ์ Roma ลดลงร้อยละ 41 พันธุ์ Vialone Nano ลดลงร้อยละ 37) ที่จะส่งผลต่อความอยู่รอดและอนาคตของสินค้าข้าวทั้งระบบของยุโรป
          นอกจากนี้ Coldiretti ยังได้แสดงความเห็นว่า วิกฤตดังกล่าวเป็นเรื่องร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสี่ยงต่ออิตาลีซึ่งเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่งของยุโรปมีกำลังการผลิต 1.5 ล้านตัน จากบริษัท 4 พันบริษัท ในพื้นที่กว่า 1.46 ล้านไร่
ซึ่งครอบคลุมประมาณร้อยละ 50 ของการผลิตทั้งหมดของสหภาพยุโรป โดยนาย Roberto Moncalvo ประธาน Coldiretti กล่าวว่า การที่สหภาพยุโรปยังคงการปล่อยให้มีการนำเข้าข้าวที่มาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่
ไม่สามารถยอมรับได้ (โดย Coldiretti ได้ยกประเด็นเรื่องการปลูกข้าวบนพื้นที่ที่มาจากการปราบปรามกลุ่มชนโรฮิงญา
อย่างรุนแรง) สินค้าทั้งหมดที่เข้าสู่ยุโรปต้องเคารพกฎเดียวกัน เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของแรงงานเพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่
วางจำหน่ายมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมสุขภาพและแรงงาน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรีบดำเนินการออกคำสั่งคุ้มครองเพื่อแก้วิกฤตที่ส่งผลกระทบต่ออนาคตของผู้ปลูกข้าวหลายพันคน
          ในการปกป้องการผลิตข้าวของอิตาลีนั้น นาย Matteo Salvini รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย จากพรรค Lega ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า “หลังจากการไม่อนุญาตให้เรือรับผู้อพยพ NGO เทียบท่าในอิตาลีแล้ว ยังสามารถหยุดการนำเข้าข้าวกัมพูชาที่ท่าเรือได้ และพร้อมที่จะกีดกันเรือขนส่งข้าวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ให้รวมข้าวที่มีคุณภาพต่ำกว่าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับข้าวของอิตาลี”
          เช่นเดียวกับนาย Paolo Carrà ประธานองค์กรภาคสินค้าข้าวแห่งชาติของอิตาลี (Enti Risi) ที่เรียกร้องให้
มีความสามัคคีในการดำเนินการ เนื่องจากเป็นระยะเวลาหลายปีที่ภาคสินค้าข้าวต้องเผชิญกับการแข่งขันที่ไมยุติธรรม ราคาที่ตกต่ำ ในทางตรงกันข้ามการนำเข้าจากประเทศเหล่านี้กลับเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ประเทศผู้ส่งออกยังไม่ได้ดำเนินการเพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกร แต่ทำให้พ่อค้าคนกลางอุตสาหกรรมและภาคการเงินเติบโตขึ้น ต่างจากเงื่อนไขข้อตกลงความร่วมมือ
          ขณะที่นาย Paolo Dellarole ประธาน Coldiretti แห่งแคว้น Vercelli Biella (พื้นที่ปลูกข้าวอันดับหนึ่งของอิตาลี) กล่าวว่า การหาทางออกต้องใช้เวลา เนื่องจากประเด็นการนำเข้าเกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรปซึ่งขั้นตอนการนำเข้าสินค้าจากกัมพูชาไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ซึ่งครอบคลุมประเทศในยุโรปเหนือซึ่งเป็นประเทศเป้าหมายส่งออกของอิตาลีเช่นกัน นอกจากนี้สหภาพยุโรปยังมีสนธิสัญญาการค้าเสรีกับประเทศอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน และต้องอย่าลืมว่าการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศส่วนหนึ่งมาจากโรมาเนีย ซึ่งเป็นประเทศที่หลายบริษัทอิตาเลียนได้ย้ายเข้าไปตั้งฐานการผลิต
         
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


ราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.05 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.59 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.98 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.47 บาท
เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.30 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.21 ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.83 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.13 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 278.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,175 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 279.000 ดอลลาร์สหรัฐ (9,199 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 24.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 370.32 เซนต์ (4,874 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 366.60 เซนต์ (4,821 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 53.00 บาท

 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64  ร้อยละ 10.69 และร้อยละ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.18 ล้านตัน (ร้อยละ 4.35 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – กรกฎาคม 2561) ปริมาณ 24.93 ล้านตัน (ร้อยละ 91.52 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงแป้งและลานมัน ทั้งนี้ลานมันส่วนใหญ่หยุดดำเนินการผลิตเพราะฝนตก และโรงงานแป้งมันสำปะหลังบางส่วนหยุดดำเนินการผลิตเพื่อซ่อมแซมเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.47 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 4.86  
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.70 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.09 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 11.98   
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.99 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.23 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.32  
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.05 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 15.15 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.66  
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 230 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,591 บาท
ราคาลดลงจากตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.29 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 92 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 16,007 บาท
ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 15 บาท

 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 1.137   
ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.193 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.081 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.184 ล้านตัน ของเดือนกรกฎาคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 5.18 และร้อยละ 4.89 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.14 บาท ลดลงจาก กก.ละ 3.24 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.09                                                         
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.10 บาท ลดลงจาก กก.ละ 20.33 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.13    
    
2.  ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สต็อกน้ำมันปาล์มมาเลเซียปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือน
คณะกรรมการน้ำมันปาล์มของมาเลเซีย รายงานว่า เดือนกรกฎาคม 2561 สต็อกน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2.34 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเพิ่มขึ้นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 เนื่องจากผลผลิตปาล์มน้ำมันมีปริมาณเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.54 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 ขณะที่การส่งออก น้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียชะลอตัวลดลงร้อยละ 0.9 เป็น 1.14 ล้านตัน เนื่องจากการส่งออกไม่สามารถแข่งขันได้โดยรวม จากผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย และราคาน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ระดับ 2,214 ริงกิตต่อตัน (543.31 ดอลลาร์สหรัฐฯ) อย่างไรก็ตาม คาดว่า ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบของประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญในระยะยาวจะเพิ่มขึ้นคือ จีนและอินเดีย 
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,219.33 ดอลลาร์มาเลเซีย  (18.35 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,129.05 ดอลลาร์มาเลเซีย  (17.66 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.24                  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 571.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (19.11 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 573.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (19.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.26    
 
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล 

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
 
  ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ



ถั่วเหลือง
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
         
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 886.76 เซนต์ (10.90 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 883.60 เซนต์ (10.84 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.36
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 333.26 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.15 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 335.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.64
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.42 เซนต์ (20.95 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 28.43 เซนต์ (20.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.04


 


ยางพารา
 
ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 42.89 บาท/กิโลกรัม
 
1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1  ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.02 บาท ลดลงจาก 42.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.31 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.73 
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.52 บาท ลดลงจาก 41.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.31 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.74
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.02 บาท ลดลงจาก 41.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.31 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.75
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.98 บาท ลดลงจาก 19.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.46 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.37
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.15 บาท ลดลงจาก 17.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.86 บาท หรือลดลงร้อยละ 5.06
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.27 บาท ลดลงจาก 37.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.05 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.13
1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกันยายน 
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.01 บาท เพิ่มขึ้นจาก 49.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.19
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.86 บาท เพิ่มขึ้นจาก 48.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.19
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.95 บาท เพิ่มขึ้นจาก 44.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.52 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.16
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.76 บาท ลดลงจาก 34.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.12 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.35
ท่าเรือสงขลา 
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.76 บาท เพิ่มขึ้นจาก 49.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.19
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.61 บาท เพิ่มขึ้นจาก 48.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.19
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.70 บาท เพิ่มขึ้นจาก 44.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.52 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.17
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.51 บาท ลดลงจาก 34.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.12 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.36
 
2.  ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ  
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.35 เซนต์สหรัฐฯ (48.33 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 145.34 เซนต์สหรัฐฯ (47.95 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 1.01 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.69
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.70 เยน (48.72 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 163.82 เยน (48.17 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 1.88 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.15

 
 

 
สับปะรด
 
 
 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 12.33 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.68
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 815.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.91 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 813.67 ดอลลาร์สหรัฐ (26.83 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 724.20 ดอลลาร์สหรัฐ (23.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 722.67 ดอลลาร์สหรัฐ (23.83 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 572.20 ดอลลาร์สหรัฐ (18.88 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 571.00 ดอลลาร์สหรัฐ (18.83 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 389.60 ดอลลาร์สหรัฐ (12.86 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 398.67 ดอลลาร์สหรัฐ (13.14 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.28 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 809.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.71 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 807.67 ดอลลาร์สหรัฐ (26.63  บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.81 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
 ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 88.05 เซนต์ (กิโลกรัมละ 64.89 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 89.56 เซนต์ (กิโลกรัมละ 65.95 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.06 บาท
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,648 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,664 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.96
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,325 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,250 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.00
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,147 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,088 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.42


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าในช่วงนี้จะมีฝนตกชุกในหลายพื้นที่ แต่จากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่มีมากขึ้น ส่งผลให้ภาวะตลาดสุกรค่อนข้างคึกคัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  58.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.78 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 57.79 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 55.18 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.72 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 58.13 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,700 บาท  (บวกลบ 60 บาท)  สูงขึ้นจากตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 58 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 6.25
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.25
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงนี้มีฝนตกชุกในหลายพื้นที่ การซื้อขายไม่คล่องตัว จับจ่ายใช้สอยลดลง อีกทั้งมีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติออกสู่ตลาด ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไก่เนื้อลดลง แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.70 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.07 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 38.60 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  33.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.50 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ  2.84  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคสอดคล้องกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  280 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 290 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 278 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 277 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ  18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 325 บาท  ลดลงจากร้อยฟองละ 330 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.52 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 333 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 341 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 299บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  339 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.23 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.45 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.24 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.99 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.33 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.73   โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.83 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 


 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 สิงหาคม 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย
ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.95 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.92 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อนราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.70 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 90.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 156.70 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 154.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.02 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 153.33 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 153.00  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.33 บาท
 2.5 ปลาทู
ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.56 บาท   ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 77.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 170.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 20.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.40 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 3 – 9 ส.ค. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา